Big Story ขอนแก่น Mega City : เมืองนี้คืออนาคต  ตอนที่ 2   

กว่าที่ขอนแก่นจะขับเคลื่อนเมืองให้เป็นสมาร์ท ซิตี้ ได้เป็นรูปธรรม ต้องใช้หัวใจหลักอย่างคนในพื้นที่ โดยทุกคนเห็นตรงกันว่า จะใช้แนวคิด "สมาร์ท โมบิลิตี้" เป็นตัวนำขับเคลื่อนเมือง  

เพราะขอนแก่นเลือกที่จะใช้ Smart Mobility ยกระดับชีวิตคนและเมืองเข้าสู่การเป็น สมาร์ท ซิตี้ ให้สมบูรณ์แบบในปี 2573  ดังนั้นทีมขอนแก่น ธิงค์ แทงค์  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จึงตีโจทย์นี้ ออกเป็น 8 ด้าน เริ่มตั้งแต่ การนำเอา iOT - Sensor - Drone ในการจัดการจราจรยุคใหม่   จนมาถึงการเปิดใช้ City Bus  และ  Application ในชื่อ "KK Transit " ที่ช่วยบอกเวลาการมาถึงของรถ  ทำงานร่วมกับป้ายจราจรอัจฉริยะ  ที่ใช้ได้จริงแล้วแห่งแรกในประเทศไทย
 

เราเดินทางด้วย City  Bus มาถึงสนามบินขอนแก่น  และพบกับป้ายรถเมล์อัจฉริยะ  สอดรับกับการขยายพื้นที่ เฟส 2 ของสนามบินขอนแก่น  เพิ่มการให้บริการเชื่อมโยงในแถบเอเชียได้   โดยไม่ต้องตีรถไปขึ้นเครื่องใน กรุงเทพมหานคร  

รถไฟรางเบา  เส้นทางแรก สำราญ-ท่าพระ  ระยะทางรวม 22.8 กิโลเมตร  เหตุผลที่เลือกเส้นทางนี้สายแรก    เพราะมีเขตทางกว้างเพียงพอ  เชื่อมต่อจุดสำคัญ  และไม่ต้องเวรคืนที่ดินประชาชน   โดยเป็นสถานีระดับพื้น 10 สถานี  -  ลอยฟ้า 6 สถานี   แม้งบประมาณก่อสร้างสถานีลอยฟ้าจะสูงกว่าระดับพื้น อยู่ที่ 400 ล้านบาทต่อกิโลเมตร  แต่คุ้มที่จะลงทุน   เพราะ 2  ใน 6 สถานีลอยฟ้า  จะเป็นจุดที่การจราจรวิกฤติในอนาคต

ทีมศึกษาออกแบบรายละเอียด ระบบขนส่งสาธารณะ ใน จังหวัดขอนแก่น  ระดมผู้ทรงคุณวุฒิหัวกะทิกว่า 30 คน ศึกษารายละเอียดการก่อสร้างใระยะเวลาในสัญญา 1 ปี 5 เดือน   ด้วยงบประมาณสนับสนุน 35 ล้าน 5 แสนบาท  ขณะนี้การออกแบบอยู่ในช่วง Final Draft แล้ว  เมื่อส่ง สนข.อนุมัติและ ครม.รับทราบ   คาดว่า รถไฟรางเบาขอนแก่น  จะเริ่มก่อสร้างในปลายปีนี้   พร้อมเปิดให้บริการในปี 2562  การออกแบบตกแต่งภายใน   สถานี   จะดึงเอาตัวตนคนขอนแก่น  มาสร้างความภูมิใจแห่งอีสาน  

นอกเหนือรถไฟรางเบาที่สำคัญถึงขั้นเปลี่ยนชีวิตคนขอนแก่น   แต่สิ่งที่สำคัญกว่าและมีผลต่อการ " อยู่รอด" ของรถไฟรางเบา นั่นคือ "พื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะ" หรือ TOD  ซึ่งขณะนี้ทีมศึกษาได้ออกแบบ Concept รูปแบบการพัฒนา TOD เมืองขอนแก่นแล้ว 3 ย่าน ได้แก่ สถานีเซ็นเตอร์พ้อยต์, สถานี บขส.3 และสถานีโลตัสศิลา   ทฤษฎีการสร้าง TOD  ระดับสากล  จะต้องสร้างความเจริญคึกคักด้านการค้า และทราฟฟิกของคน  จากสถานีรถไฟในรัศมี  500 เมตร  สิ่งที่ตามมาคือรายได้จากการเช่าพื้นที่  และรายได้นั้นนำมาซึ่งการนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการซ่อม-สร้างรถไฟรางเบาต่อไป 

สิ่งที่เกิดขึ้นในจังหวัดขอนแก่น ทั้งหมดล้วนมาจากการคิดด้วยการ นำ Pain Point  นำ  - และการแก้ปัญหาตาม  โดยทีมศึกษาฯ  เปิดเผยข้อมูลสำคัญว่า  

หากไม่มี LRT ในขอนแก่น จะมีผู้ใช้รถสองแถว  ในอีก 19 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 120,900 คนต่อวัน   แต่หากมี LRT จะมีผู้ใช้บริการ LRT อยู่ที่  270,000 คนต่อวัน  นั่นหมายความว่า LRT สร้างทราฟฟิกให้เกิดขึ้นในเมืองได้จริง

LRT ทุกเส้นทาง  แม้ทำให้ผู้โดยสารใช้รถสองแถวน้อยลง 9.3 -15.3%  ซึ่งกระทบกับผู้ประกอบการ (แต่ไม่ได้ยกเลิกรถสองแถว)    แต่กลับพบว่า  ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเมือง   อยากให้ LRT เกิดขึ้นที่ขอนแก่นโดยเร็ว  เพื่อส่งต่อเมืองไปถึงลูกหลานของพวกเขาในอนาคต


Poster : kktt | 10 พฤษภาคม 60 00:00:00


© 2024 Khon Kaen City Development (KKTT) Co., LTD. All rights reserved.

Web Design & Development by Smilehost.asia